วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รายงานผลการนิเทศการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยการใช้กระบวนการ PDCA ของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2

บทคัดย่อ

           
นางพณิตา   กอนจันดา
ศึกษานิเทศก์ สพป.สมุทรปราการ เขต 2
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการนิเทศการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ ที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยการใช้กระบวนการ PDCA ของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต และ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ปี การศึกษา 2553  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 14 โรงเรียน ซึ่งผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น จำนวนทั้งหมด 272 คน เครื่องมือที่ใช้จำนวน 5 ฉบับได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการวางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก  ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการดำเนินงานตามแผน การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก ฉบับที่ 3 แบบสอบถามผลการดำเนินงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก ฉบับที่ 4 แบบสอบถามเพื่อการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก สำหรับผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครอง และฉบับที่5 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น และวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
สรุปผล
1. ผลนิเทศการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยการใช้กระบวนการ PDCA ของโรงเรียนขนาดเล็กในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ในภาพรวมแล้ว มีผลการปฏิบัติ ดังนี้ผลการดำเนินงาน โดยภาพรวม พบว่ามีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีผลการปฏิบัติ เป็นรายด้านดังนี้ ด้านการวางแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในโรงเรียนขนาดเล็ก มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมากคือ 3.51  ด้านการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุดคือ 3.53  ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโรงเรียนขนาดเล็ก มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีคือ 3.35 และด้านการนำผลการดำเนินงานมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโรงเรียนขนาดเล็ก มีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลางคือ 3.33
2ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโดยรวมอยู่ในระดับมากคือ 4.17
คำสำคัญ  โรงเรียนขนาดเล็ก การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การพัฒนางานโดย iCT

6 พฤศจิกายน 2557  ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2  คณะศึกษานิเทศก์ได้เข้ารับการพัฒนางานโดยใช้ ICT โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก ดร.โชคชัย สิรินพมณี เป็นวิทยากร

วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การอบรมหลักสูตร "ผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา"

           ระหว่างวันที่ 14-15,21-22 เดือน มิถุนายน 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ได้ดำเนินงานขยายผลอบรมปฏิบัติการอบรมหลักสูตร "ผู้ดำเนินการคัดกรองคนพิการทางการศึกษา" ครูในสังกัด โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
 ๑. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้  ความเข้าใจ  ความเป็นมาและความสำคัญ
 ในเรื่องการคัดกรองตามประเภทคนพิการทางการศึกษา

๒.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการใช้แบบคัดกรองตามประเภทคนพิการ
 ทางการศึกษา

๓.  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีเจตคติที่ดีต่อคนพิการ
        ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย  ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต ๒ จำนวน ๗๒ คน
       รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน                           จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
       คณะวิทยากรได้แก่ ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากรแกนนำจากสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคลากรจากศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดสมุทรปราการ

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2557

Best Practice คืออะไร

             
               Best Practice  คือ วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ซึ่งเป็นผลมาจาก
การนำความรู้ไปปฏิบัติจริง แล้งสรุปความรู้และประสบการณ์นั้น เป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของตนเอง
(บูรชัย ศิริมหาสาคร,2548)

การค้นหา  Best Practice  (BP)
               การค้นหา  Best Practice  (BP) เพื่อดูสิ่งที่เราคิดว่า เจอแล้ว ใช่แล้ว และคิดว่าเป็น Best Practice (BP)ของเรา จริงๆแล้ว ใช่ หรือ ไม่ มีสิ่งที่ช่วยในการค้นหาง่ายๆ ดังนี้
               - การวิเคราะห์บริบท ความคาดหวังของหน่วยงาน/สังคม/ผู้มีส่วนได้เสีย
               - พิจารณาว่า PDCA ได้ครบวงจรหรือยัง
               -ขั้นตอนนั้นเป็น "นวัตกรรม" หรือไม่
               -ตั้งคำถามว่านวัตกรรมนั้น
                     * คืออะไร What
                     * ทำอย่างไร How
                     * ทำเพื่ออะไร Why
                -วิเคราะห์ปัจจัยที่สำเร็จและบทเรียนที่ได้เรียนรู้

                                                   **************************